วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมและอิทธิพลตะวันออกเฉียงใต้



วัฒนธรรม

วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรมอาหรับ
ในภูมิภาคนี้มีการทำนาข้าวมาแล้วนับพันปี เช่น นาข้าวบานัวที่เกาะลูซอน โดยนาข้าวต้องใช้ความมุมานะในการดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และสามารถเข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมได้เป็นอย่างดี
บ้านยกบนเสาสูงสามารถหาได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทยและลาว, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอนในฟิลิปปินส์, ไปจนถึงปาปัวนิวกินี โดยมีเทคนิกในการสร้างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมไปถึงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น กริช และเครื่องดนตรี เช่น ระนาด

อิทธิพล

วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจีนชัดเจนที่สุด ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีมากที่สุดที่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการใช้กฎหมายแบบสเปนและอเมริกัน
ด้วยความที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมาเป็นเวลานาน เวียดนามจึงถูกจัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกด้วย ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนามมีปรัชญาเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน, ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งเกิดขึ้นในจีนทั้งหมด นอกจากนี้ในเวียดนามยังนิยมใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกประเทศอื่น ๆ และอาหารเวียดนามส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส
โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่รับประทานอาหารด้วยมือจะเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน ซึ่งรับประทานอาหารด้วยตะเกียบและมีชาเป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้น้ำปลาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังค่อนข้างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ

ศาสนาและภาษาตะวันออกเฉียงใต้


ศาสนา


ชาวไทยพุทธในจังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประมาณที่มากถึง 240 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนมากจะอยู่ที่บรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา โดยศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและลัทธิขงจื๊อก็มีผู้นับถือมากในเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนศาสนาคริสต์ก็เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์, ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก และติมอร์-เลสเต โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย ส่วนติมอร์-เลสเตก็นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเช่นกัน เนื่องจากเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสมาก่อน
ศาสนาเป็นสิ่งที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่มีประเทศใดเลยที่มีผู้นับถือศาสนาเดียวกันทั้งหมด โดยประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกอย่างอินโดนีเซียก็สามารถพบชาวฮินดูได้มากมายที่บาหลี โดยชาวฮินดูนั้นกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศอื่น ครุฑที่ว่ากันว่าเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ก็เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของทั้งไทยและอินโดนีเซีย, ในฟิลิปปินส์สามารถพบรูปหล่อครุฑได้ที่ปาลาวัน, รูปหล่อเทพเจ้าฮินดูองค์อื่นก็สามารถพบได้ที่มินดาเนา สำหรับชาวฮินดูในบาหลีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากชาวฮินดูแห่งอื่น โดยมีวัฒนธรรมในแบบของตนเองและมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ส่วนชาวคริสต์นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ติมอร์-เลสเตและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นชาติที่มีชาวคริสต์มากที่สุดในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าโบราณที่รัฐซาราวักในมาเลเซียตะวันออก และปาปัวที่ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ในพม่ามีการบูชาพระอินทร์ในแบบที่เรียกว่า นัต ส่วนที่เวียดนามนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเชื่อเรื่องวิญญาณ ยกเว้นเรื่องการบูชาความตาย
อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์พราหมณ์-ฮินดู (71%), พุทธคริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลามซิกข์
ธงชาติของบรูไน บรูไนอิสลาม (67%), พุทธ (13%), คริสต์ (10%), อื่น ๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)
ธงชาติของประเทศพม่า พม่าพุทธนิกายเถรวาท (89%), อิสลาม (4%), คริสต์ (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่น ๆ (2%)
ธงชาติของประเทศกัมพูชา กัมพูชาพุทธนิกายเถรวาท (95%), อิสลามคริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่น ๆ (5%)
ธงชาติของเกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาสพระพุทธศาสนา (36%), อิสลาม (25%), คริสต์ (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่น ๆ (6%)
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคสอิสลามนิกายซุนนีย์ (80%), อื่น ๆ (20%)
 ติมอร์-เลสเตคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (90%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่น ๆ (พุทธพราหมณ์-ฮินดู, อื่น ๆ) (2%)
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียอิสลาม (86.1%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (3%), พราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่น ๆ รวม พุทธ, ไม่ระบุ (3.4%) [13]
ธงชาติของลาว ลาวพุทธนิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ (1.3%), อื่น ๆ (0.8%)
ธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซียอิสลาม (60.4%), พุทธนิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ (9.1%), พราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)
ธงชาติของปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินีคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (27%), อีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), เธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), คริสต์นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (7%), คริสต์นิกายแองกลิกัน (3%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (8%), อื่น ๆ (4%)
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (3%), อื่น ๆ (ความเชื่อดั้งเดิม, พุทธยิว, ไม่มีศาสนา, อื่น ๆ) (5%)
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์พุทธ (42.5%), อิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), พราหมณ์-ฮินดู (4%), ไม่มีศาสนา (15%), คริสต์ (10%), อื่น ๆ (1%)
ธงชาติของไทย ไทยพุทธนิกายเถรวาท (94.6%), อิสลาม (4.6%), อื่น ๆ (0.8%)
ธงชาติของเวียดนาม เวียดนามพุทธนิกายมหายาน (78%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พุทธนิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่น ๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าวอิสลาม, ไม่มีศาสนา, อื่น ๆ , 7%)

ภาษา

ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การค้า, การย้ายถิ่นฐาน, และการเคยตกเป็นอาณานิคมในอดีต
การใช้ภาษาในแต่ละประเทศ มีดังนี้: (ภาษาทางการจะถูกจัดเป็น ตัวหนา)
ประเทศภาษา
 บรูไนมาเลย์, อังกฤษ, จีน, indigenous Borneian dialects[14]
 พม่าพม่า, ฉาน, กะเหรี่ยง, ยะไข่, กะฉิ่น, ชิน, มอญ, และภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ
 กัมพูชาเขมร, ไทย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนาม, Chamic dialects, จีน, และอื่น ๆ[15]
 เกาะคริสต์มาสอังกฤษ, จีน, มาเลย์[16]
 หมู่เกาะโคโคสอังกฤษ, โคโคสมาเลย์[17]
 ติมอร์-เลสเตเตตุมโปรตุเกส, อินโด, อังกฤษ, Mambae, Makasae, Tukudede, Bunak, Galoli, Kemak, Fataluku, Baikeno, และอื่น ๆ [18]
 อินโดนีเซียอินโด, ชวา, ซุนดา, มาเลย์, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, จีนฮากกา, จีนมินนาน, Cantonese, Acehnese, Batak, Minang, Banjarese, Sasak, Tetum, Dayak, Minahasa, Toraja, Buginese, Halmahera, Ambonese, Ceramese, Bare'e, ดัตถ์, อังกฤษ, ปาปวน, และอื่น ๆ [19]
 ลาวลาว, ไทย, เวียดนาม, ม้ง, Miao, เมี้ยน, Dao, ไทใหญ่, ฝรั่งเศส, อังกฤษ และอื่น ๆ [20]
 มาเลเซียมาเลย์อังกฤษ, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, ทมิฬ, จีนฮากกา, จีนกวางตุ้ง, จีนมินนาน, อินเดีย, ไทย, Iban, Kadazan, Banjarese, ชวา และอื่น ๆ [21]
 ฟิลิปปินส์ฟิลิปีโนอังกฤษ, สเปน, อารบิก, [22] ตากาล็อก, Cebuano (Boholano), Illonggo, Ilocano, Hiligaynon, Kapampangan, Bicol, Waray, Pangasinense, Chavacano, Aklanon, Asi (Bantoanon), Bangon, Capiznon, Ibanag, Itawis, Bangon, Bicolano (Albay), Bicolano (Bulan, Gubat, Irosin, Matnog, Sta Magdalena, Bulusan), Biko (Buhi), Bikol Central, Bisaya/Binisaya, Daraga/East Miraya Bikol, Oasnon/West Miraya Bikol, Bicolano (Iriga) Capiznon, Cebuano, Caviteño Chabacano Ternateño Chabacano, Zamboangueño Chavacano, Castellano, Abakay Chavacano, Cotabateñ Chavacano, Ermiteño Chabacano, Ilokano (Abagatan), Hiligaynon, Jama Mapun, Kapampangan, Kinaray-a, Manobo (Obo), Maranao, Pangasinan, Romlomanon (Ini), Sambal (Botolan), Sambal (Sambal), Sangil, Sinama, Surigaonon, Sorsoganon, Tayabas Tagalog, Tausug, Waray-Waray, Yakan[23] Philippines has more than a hundred languages and dialects.
 สิงคโปร์อังกฤษจีนกลางมาเลย์ทมิฬ, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว, Cantonese, Hakka, Shanghainese, other Indian languages, Arabic dialects, และอื่น ๆ
 ไทยไทย, ไทยถิ่นเหนือ, ไทยถิ่นอีสาน, ไทยถิ่นใต้, จีนแต้จิ๋ว, จีนหมิ่นหนาน, ฮักกา, กวางตุ้ง, อังกฤษ, มาเลย์, ลาว, เขมร, อีสาน, ไต, ลื้อ, ผู้ไทย, มอญ, พม่า, ชาวเขา, และอื่น ๆ [24]
 เวียดนามเวียดนาม, อังกฤษ, จีนหมิ่นหนาน, ฝรั่งเศส, ไทย, เขมร, mountain-area languages (Mon–Khmer and Malayo-Polynesian, Hmong) [25]

วัฒนธรรม

สิ่งแวดล้อมและกลุ่มชาติพันธุ์ตะวันออกเฉียงใต้


สิ่งแวดล้อม


มังกรโคโมโดในอุทยานแห่งชาติโคโมโด
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่น, ร้อนชื้น และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างมีความหลากหลาย, บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราจะมีอุรังอุตังช้างเอเชียสมเสร็จมลายูกระซู่ และเสือลายเมฆบอร์เนียวก็สามารถพบได้เช่นกัน หกสปีชีส์ย่อยของหมีขอมีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามมันเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เกาะปาลาวัน
เสือสามชนิดที่มีสปีชีส์ย่อยแตกต่างกันสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา (เสือโคร่งสุมาตรา), ในมาเลเซียตะวันออก (เสือโคร่งมลายู), และในอินโดจีน (เสือโคร่งอินโดจีน), โดยทั้งหมดถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคาม
มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสปีชีส์กิ้งก่า และอาศัยอยู่บนเกาะโคโมโดเกาะรินจาเกาะฟลอเรส, และ Gili Motang ในอินโดนีเซีย
อินทรีฟิลิปปินส์เป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[11] และมีเฉพาะในป่าที่ฟิลิปปินส์เท่านั้น
ควายป่า และควายแคระบนเกาะที่แตกต่างกันพบได้เฉพาะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ในทุกวันนี้ควายสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาค แต่ชนิดอื่นนั้นถูกคุกคามและหายาก
กระจง สัตว์คล้ายกวางที่มีขนาดไล่เลี่ยกับแมวหรือสุนัขพันธุ์เล็กสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และเกาะปาลาวัน (ฟิลิปปินส์) ขณะที่กระทิงที่มีขนาดใหญ่กว่าควายป่าสามารถพบได้ที่อินโดจีนเป็นส่วนใหญ่
สัตว์ปีกอย่างนกยูงและนกแซงแซวอาศัยอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกอย่างอินโดนีเซีย ขณะที่หมูที่มีอวัยวะคล้ายงาสี่งาอย่างบาบิรูซ่าก็สามารถพบได้ที่อินโดนีเซียเช่นกัน ส่วนนกเงือกมักถูกส่งไปยังจีนเพราะมีจะงอยปากที่มีมูลค่าสูงเช่นเดียวกับนอของแรด ซึ่งถูกส่งไปจีนเช่นเดียวกัน

กลุ่มเกาะมลายูถูกผ่ากลางโดยเส้นวอลเลซ
บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศทางทะเลหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยเต็มไปด้วยปะการัง, ปลา, หอย และพวกหมึก ตามที่องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติได้ทำการสำรวจทะเลบริเวณราชาอัมพัตแล้วพบว่ามีความหลากหลายที่สุดในโลก และมากกว่าบริเวณอื่นอย่างสามเหลี่ยมปะการังของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี โดยบริเวณสามเหลี่ยมปะการังนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแนวปะการังทั่วโลกเลยทีเดียว ทำให้ราชาอัมพุตเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างปลาฉลามวาฬและ 6 สปีชีย์ของเต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลจีนใต้ และดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของฟิลิปปินส์
พืชในภูมิภาคนี้เป็นแบบพืชเขตร้อน, ในบางประเทศที่มีภูเขาสูงพอสามารถพบพรรณไม้ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ป่าหนาทึบในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกมากเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว
ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ท้องถิ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการทำลายป่าอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลายจนใกล้สูญพันธุ์เช่นอุรังอุตังและเสือโคร่งสุมาตรา คาดกันว่าสัตว์และพรรณไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 40% มีจำนวนลดลงในศตวรรษที่ 21[12] ในขณะเดียวกันเมฆหมอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีความรุนแรงมากที่สุดในปี 1997 และ 2006 ซึ่งทั้งสองครั้งมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากหมอกที่หนาทึบที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าในอินโดนีเซีย จนกระทั่งมีหลายประเทศร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประชากร


แผนภูมิแสดงสัดส่วนของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1.6 ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 593 ล้านคนในปี 2007 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125 ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม

กลุ่มชาติพันธุ์


เด็กหญิงชาวอาติ
ในช่วงหลังชาวชวาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนที่มากกว่า 86 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนที่พม่าจะมีชาวพม่าอาศัยอยู่มากกว่าสองในสามของประชากรทั้งหมด ขณะที่ชาวไทยและเวียดนามก็จะมีจำนวนราวสี่ในห้าของประเทศเหล่านั้น อินโดนีเซียนั้นถูกปกครองโดยชาวชวาและชาวซุนดา ขณะที่มาเลเซียจะมีชาวมลายูและชาวจีนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญในฟิลิปปินส์ได้แก่ ชาวตากาล็อกชาวซีบัวโนชาวอีโลกาโน, และชาวฮิลิกายนอน

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More